ข้อมูลตำบลหายโศก


ประวัติความเป็นมา

ตำบลหายโศกเดิมขึ้นอยู่กับการปกครองของตำบลบ้านผือ ต่อมาในปี พ.. 2512 ได้แยกการปกครองออกจากตำบลบ้านผือ จานวน 11 หมู่บ้าน ตั้งชื่อว่าตำบลหายโศกโดยมีกำนันคนแรกชื่อว่านายระเบียบ เกาะกาใต้สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าหายโศกโดยมีเรื่องเล่าขานกันว่า ในสมัยพญาขอม ได้มีบั้งไฟมาตกลงจนเป็นหลุมขนาดใหญ่ ซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกว่าโสกจากนั้นทาให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา จึงได้ขยายความคาว่าหายโสกเปลี่ยนแปลงมาเป็นคาว่าหายโศก

2.2 ข้อมูลทั่วไป

ปัจจุบันตาบลหายโศกมีหมู่บ้านจานวน 17 หมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 128 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 80,000 ไร่ และได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตาบลหายโศก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 ตาบลหายโศกเป็น 1 ใน 13 ตาบลของอาเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากที่ว่าการอาเภอบ้านผือประมาณ

5 กิโลเมตร

สภาพพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

ข้อมูลกายภาพ

ที่ตั้งและอาณาเขต ตาบลหายโศก มีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอบ้านผือเป็นตาบล 1 ใน 13 ตำบล ของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีการคมนาคมโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2020 สายบ้านผือท่าบ่อ ระยะทางห่างจากตัวอาเภอบ้านผือประมาณ 5 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านหายโศก

หมู่ที่ 2 บ้านธาตุ

หมู่ที่ 3 บ้านนาคา

หมู่ที่ 4 บ้านโนนทัน

หมู่ที่ 5 บ้านดงหวาย

หมู่ที่ 6 บ้านโคกสีแก้ว

หมู่ที่ 7 บ้านหนองนกเขียน

หมู่ที่ 8 บ้านหนองกุง

 หมู่ที่ 9 บ้านหลวงคา

หมู่ที่ 10 บ้านดงขวาง

หมู่ที่ 11 บ้านโนนอุดม

หมู่ที่ 12 บ้านดงหวาย

หมู่ที่ 13 บ้านธาตุทรายมูล

หมู่ที่ 14 บ้านวังแสง

หมู่ที่ 15 บ้านดงหวาย

หมู่ที่ 16 บ้านหายโศก

หมู่ที่ 17 บ้านดงหวาย

อาณาเขตพื้นที่ติดต่อ

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านว่าน ตำบลโคกคอน ตำบลหนองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลคาบง ตำบลโนนทอง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านผือ ตำบลบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ประชากร

 มีประชากรทั้งสิ้น 10,679 คน แยกเป็นชาย 5,379 คน หญิง 5,300 คน จานวนครัวเรือน 2,291 ครัวเรือน แยกเป็นครัวเรือนเกษตรกร จานวน 1,406 ครัวเรือน

พื้นที่ถือครอง มีพื้นที่ถือครองทั้งสิ้น 63,818 ไร่

สภาพภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเป็นลูกคลื่นลอนลาดชันประมาณร้อยละ 2- 6 บางช่วงเป็นที่ราบและที่ดอนสลับกัน ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายแต่ก็พบดินลูกรังปะปนอยู่บ้างพื้นที่ส่วนนี้จะเป็นป่าละเมาะและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ส่วนพื้นที่ราบลุ่มเหมาะสมกับการทานาปลูกข้าว พื้นที่ดอนที่เนินเหมาะสมกับการปลูกพืชไร่ ไม้ผลและอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีลาห้วยไหลผ่านหลายสายและมีหนองน้ากระจายอยู่แต่ละหมู่บ้านเพื่อใช้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตลอดทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชากรที่อาศัยอยู่ในตำบลหายโศก

พื้นที่ป่า ป่าไม้เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าภายในตำบลเริ่มเสื่อมโทรมและลดความอุดมสมบูรณ์ลงเรื่อยๆ เพราะถูกทาลายและบุกรุก ไฟป่าจากภัยธรรมชาติการกัดเซาะของลมและฝน พื้นที่ป่าจึงเป็นป่าโปร่งเตี้ยๆไม่หนาทึบเหลือพื้นที่ประมาณ 8,250 ไร่

อุณหภูมิ ลักษณะโดยทั่วไปจะมีอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศก็หนาวจัดและแห้งแล้งมาก ในฤดูฝนจะมีอากาศชื้นฝนตกชุก เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ สภาพอากาศแบ่งได้เป็น 3 ฤดูกาล

ฤดูร้อน จะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากในเดือน มีนาคมพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 34- 36 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน จะมีฝนตกมากช่วงเดือนมิถุนายนสิงหาคม การกระจายตัวของฝนในช่วงฤดูฝนเฉลี่ย 124 – 128 วัน ปริมาณน้าฝนที่ตกเฉลี่ย 1,120 ../ปี

ฤดูหนาว จะมีอากาศหนาวเย็นและลมแรงในเดือนพฤศจิกายนมกราคม อุณหภมิต่าสุด 4- 6 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนธันวาคม

แหล่งน้าและปริมาณน้าในรอบปี ปริมาณน้าฝน

น้า คือปัจจัยหลักในการทาการเกษตรและการดารงชีพของสิ่งมีชีวิต แหล่งน้ามีทั้งแหล่งน้าธรรมชาติและแหล่งน้าที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการเกษตรและอุปโภคบริโภคของประชากรในตาบลแหล่งน้าที่สาคัญมีดังนี้

1.หนองผักบุ้ง พื้นที่ประมาณ 137 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 1 พื้นที่ใช้น้าบริเวณใกล้เคียงมีหมู่ 10, 3,15 มีน้าตลอดปี

2.หนองฝ้าย พื้นที่ประมาณ 16 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 1

3.หนองห้วยบง พื้นที่ประมาณ 22 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 3 มีน้าตลอดปี

4.ลาห้วยหิน ไหลมาจากเขตตาบลบ้านผือผ่านหมู่ 3, 1, 5

5.ลาห้วยแจ้ง ไหลมาจากตาบลบ้านผือ ผ่านหมู่ 12, 17, 1 มีน้าตลอดปี

6.หนองนกเขียน พื้นที่ประมาณ 41 ไร่ ตั้งอยู่ในหมู่ 7 มีน้าตลอดปี

7.ลาห้วยอีสี ไหลผ่านหมู่ 6, 8,14

8.ลาห้วยวังแสง ไหลผ่านหมู่ 8, 14

9.ลาห้วยมะไฟ ไหลผ่านหมู่ 8, 14, 2, 9

10.หนองวังฮู อยู่ในพื้นที่หมู่ 8 พื้นที่ 6 ไร่ มีน้าตลอดปี

11.หนองธาตุพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ เขตพื้นที่หมู่ 10 มีน้าตลอดปี

12.ห้วยกุดผึ้ง ไหลผ่านเขตพื้นที่หมู่ 12 มีน้าตลอดปี

13.ลาห้วยคุก ไหลผ่านหมู่ 2, 9, 13

14. อ่างเก็บน้าพังพวน อยู่ระหว่างหมู่ 11 เขตติดต่ออำเภอท่าบ่อ และตำบลหนองหัวคู มีน้าตลอดปี

ปริมาณน้าฝน จากสถิติปริมาณน้าฝน ฝนตกปีละประมาณ 124 – 128 วัน ปริมาณน้าฝนโดยเฉลี่ย 1,120 มม.ต่อปี ช่วงที่ฝนตกชุกเดือน มิถุนายนสิงหาคม

เส้นทางคมนาคม

- การคมนาคมมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2021 สายอุดรธานี - บ้านผือ - น้าโสม

มีถนนลาดยางเชื่อมกับถนนมิตรภาพ จากจังหวัดอุดรธานีถึงถนนแยกเข้าบ้านผือที่บ้านดงไร่ ตาบลนาข่า อำเภอเมือง เป็นระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร จากทางแยกบ้านดงไร่ถึงอาเภอบ้านผือระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร

รวมระยะทางจากจังหวัดอุดรธานีถึงอำเภอบ้านผือรวม 55 กิโลเมตร ซึ่งมีหมู่บ้านในเขตตาบลหายโศกที่ต้องผ่านคือ บ้านหนองกุง, บ้านวังแสง และบ้านหนองนกเขียน

- การคมนาคมระหว่างอำเภอบ้านผืออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายโดยทางหลวง

แผ่นดินหมายเลข 2020 เป็นถนนลาดยางแอสฟัสย์ที่เชื่อมอำเภอบ้านผือ - อำเภอท่าบ่อ ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางนี้คือ บ้านดงหวายทั้ง 3 หมู่

- เส้นทางคมนาคมภายในตำบลเชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ มีถนนลาดยางเชื่อมเกือบ

ทุกหมู่บ้านยกเว้นหมู่ 6 และหมู่ 11 ที่ยังเป็นถนนลูกรัง ถนนติดต่อระหว่างตำบลหายโศกกับตำบลอื่น ๆก็มีทั้งลาดยางและลูกรัง

ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ความเหมาะสมของดินและคุณภาพดิน

ลักษณะชนิดดินในเขตพื้นที่ตำบลหายโศกประกอบด้วยกลุ่มชุดดิน 4 ชุด

1. ดินชุดน้าพอง ประมาณ 60 % ของพื้นที่

2. ดินชุดร้อยเอ็ด ประมาณ 10 % ของพื้นที่

3. ดินชุดโคราช ประมาณ 20 % ของพื้นที่

4. ดินชุดอุบล ประมาณ 10 % ของพื้นที่

สมรรถนะของดินและความเหมาะสมในการปลูกพืชตลอดจนคุณภาพของดินในตาบลหายโศก จะพบชุดดินต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านดังนี้

1. ดินชุดน้าพอง (กลุ่มชุดดินที่ 44) เป็นกลุ่มดินที่พบมากที่สุดภายในตาบลหายโศก เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายจัดน้าซึมผ่านได้เร็วมาก หน้าดินค่อนข้างลึกความลาดชันประมาณ 2 - 6 % ดินชั้นล่างสีน้าตาลเข้ม สีน้าตาลเข้มปนเทา สีน้าตาลอ่อนปนแดง สีเทาปนชมพูพบจุดปะสีเหลืองเข้มปนน้าตาลพบในดินที่ลึกมากๆ บางครั้งพบปะปนกับดินชุดโคราช เหมาะสาหรับการปลูกพืชไร่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ บริเวณที่พบดินชุดนี้ คือ หมู่ที่ 1, 2, 3, 5, 10, 12, 15

2.ดินชุดร้อยเอ็ด (กลุ่มชุดดินที่ 17) ดินชุดนี้เป็นกลุ่มดินที่มีเนี้อดินบนร่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายการระบายน้าไม่ค่อยดี เนื้อดินร่วนเหนียวสีน้าตาลอ่อนปนเทาพบจุดปะสีน้าตาลเหลืองหรือแดงปะปน บางแห่งพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกธาตุเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่างเกิดจากวัตถุต้นกาเนิดดินพวกตะกอนลาน้าหน้าดินลึกมาก ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ามีค่าเป็นกรด-ด่าง 5-5.5 ส่วนใหญ่ใช้ในการทานา บางแห่งใช้ในการปลูกพืชไร่และไม้ผล แต่อาจมีปัญหาเรื่องการแช่ขังของน้าฝน บริเวณที่พบดินชุดนี้ คือ หมู่ที่ 4, 6, 8, 7, 10, 13 และ 14 การใช้ประโยชน์จึงต้องมีการปรับปรุงบารุงดินอย่างถูกวิธีโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี

3 .ดินชุดโคราช (กลุ่มชุดดินที่ 35) ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทรายการอุ้มน้าต่าถึงปานกลาง เนื้อดินเป็นสีน้าตาล สีเหลืองปนแดง เกิดจากวัตถุต้นกาเนิดดินพวกตะกอนลาน้าหรือจากการสลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นจนเป็นที่ลาดชันเชิงเขาหน้าดินลึกความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่าความเป็นกรด-ด่างมีค่าประมาณ 4.5-5.5 ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ไม่เหมาะสมในการทานา แต่อาจใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชไร่ไม้ผลได้บ้าง บริเวณที่พบดินชุดนี้ คือ หมู่ที่ 1, 3, 5, 10

4. ดินชุดอุบล ดินชุดนี้อยู่ในสภาพภูมิประเทศค่อนข้างราบเรียบความลาดชันประมาณ 0-2 % การระบายน้าดีปานกลางน้าซึมผ่านได้เร็วความลึกของหน้าดินลึกมาก เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย สีดินน้าตาล

อ่อนปนแดงมีจุดปะสีเหลืองปนแดง น้าตาลแดงมีจุดปะสีน้าตาลแก่ เหมาะสมในการทานา บริเวณที่พบดินชุดนี้ คือ หมู่ที่ 3, 4

ข้อมูลสาธารณูปโภค (ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์)

ข้อมูลด้านสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในตำบลได้รับการพัฒนาค่อนข้างมาก แต่ยังไม่สมบูรณ์ทุกด้านยังต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงอีก สาธารณูปโภคที่สำคัญได้ดาเนินและบริการ เช่น

1.ระบบประปา มีน้าประปาใช้แล้วทุกหมู่บ้านแต่ครัวเรือนที่อยู่ห่างไกลอาจจะยังไม่มีน้าประปาใช้เนื่องจากขยายพื้นที่บริการยังไม่ทั่วถึง

2.ระบบไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้แล้วทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือน แต่ที่ยังขาดแคลนมีปัญหาอยู่คือ ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรในไร่นา

3.ระบบการสื่อสาร ตู้โทรศัพท์หรือโทรศัพท์สาธารณะประจาทุกหมู่บ้าน 15 บ้านรวมทั้งหมดจานวน 28 จุด

4.ระบบการประชาสัมพันธ์ ภายในหมู่บ้านมีหอกระจายข่าวเพื่อแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ทุกหมู่บ้าน

5.ฉางสารองข้าวนาน้าฝน มีจานวน 2 ฉางขนาดบรรจุ 10 ตัน อยู่ที่หมู่ 4, 7 ส่วนอีกฉางมีขนาดบรรจุ 30 ตันของส่วน รพช. อยู่ที่หมู่ 2

6.สีข้าวทั้งตำบลมีอยู่ 18 แห่ง

7.บ่อน้าบาดาลใหญ่ 31 แห่ง บ่อน้าบาดาลเล็ก 42 แห่ง บ่อน้าตื้น 350 บ่อ ถังเก็บน้า ฝ. 33 จานวน 14 ถัง

ข้อมูลสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในตำบลหายโศกที่สำคัญได้แก่

1. ที่ทาการองค์การบริหารส่วนตำบลหายโศก 1 แห่ง

2. สถานีอนามัยประจาตำบลมีอยู่ 2 แห่ง คือตั้งอยู่ที่หมู่ 12, 13

3.สานักงานตรวจชุมชน ตั้งอยู่หมู่ที่ 15

4.ร้านค้าไม้เก่าและไม้แปรรูป ตั้งอยู่ที่หมู่ 5, 12, 15,17

5. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตำบลหายโศก ตั้งอยู่ที่หมู่ 12

6.มีปั๊มน้ามันและโรงงานบรรจุก๊าซอยู่ 5 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 7, 8, 12

7.สถานีไฟฟ้าย่อยอยู่หนึ่งแห่งตั้งอยู่ที่หมู่ 12

ภัยธรรมชาติ สภาพภูมิประเทศของตำบลหายโศกเป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนเตี้ยๆจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้าท่วมขัง เนื่องจากมีลาห้วยผ่านหลายสายการระบายน้าดีปัญหาจากภัยธรรมชาติน้าท่วมมีน้อยมากเป็นหย่อมๆ เช่น หมู่ 1, 2, 13, 11 ภัยแล้งมีบ้างกระจายอยู่เป็นจุดตามพื้นที่ดอนบริเวณที่พบ ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,4,6,8,9,10,11

แต่ก็ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียหายมากหรือเสียหายสิ้นเชิง มีแล้งกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ

ข้อมูลด้านชีวภาพ

ประชากรส่วนใหญ่ในตาบลมีอาชีพหลักคือการทานาทาไร่ รองลงมาคือการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ดไก่ ในปัจจุบันมีการพัฒนาด้านการเกษตรให้เป็นแบบเกื้อกูลพึ่งพากันแต่ละอย่าง แบบไร่นาสวนผสม เกษตรผสมผสาน เกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยลดปัญหาด้านการตลาด โรคแมลงศัตรู ฯลฯ ถ้ามีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปเช่น ทานา ทาไร่ ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา ทาให้ลดความเสี่ยงในการประกอบกิจกรรมแต่เป็นการเพิ่มรายได้อีกทาง

พันธุ์พืชที่ปลูก/พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ

พันธุ์พืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกภายในตำบลหายโศก ได้แก่

ข้าว พื้นที่ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเหนียวมากกว่าข้าวเจ้า ที่นิยมมีพันธุ์ กข.6 สันป่าตอง2, สันป่าตอง1(หรือสันป่าตอง เป็นข้าวอายุสั้นไม่ไวต่อช่วงแสง) และพันธุ์พื้นเมืองอีกบ้างเพื่อขายแปรรูปเป็นข้าวเม่า ส่วนข้าวเจ้าปลูกเพื่อจาหน่าย ได้แก่ กข.15, ขาวดอกมะลิ 105 , ข้าวเจ้าขาว

อ้อย พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ อู่ทอง1, ฟิลิปปินส์ , เอฟ140, เค 84-20, เค 88-92และขอนแก่น 3

มันสาปะหลัง พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50, ระยอง1, 2, 60, 90

ยาสูบ พันธุ์พื้นเมืองยาเขียว

มะเขือเทศโรงงาน เบต้า

ยางพารา พันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ( RRIM 600)

ไม้ผล ได้แก่ มะม่วงแก้ว เขียวเสวย น้าดอกไม้ , ลาไย พันธุ์อีดอ แก้วมังกร ได้แก่ พันธุ์ไทย ไต้หวัน เวียดนาม

มะพร้าว เป็นพันธุ์พื้นเมือง มะพร้าวแก่

พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยง ได้แก่

โค ได้แก่พันธุ์พื้นเมือง ลูกผสมอเมริกันบราห์มัน ลูกผสมลิมูซิน ลูกผสมฮินดูบราซิล

กระบือ ได้แก่พันธุ์พื้นเมือง

สุกร พันธุ์ลูกผสมเช่น ลาจไวท์ ดูร็อคเจอซี่ แฮมเชียร์ ลูกผสมหมูป่า

สัตว์ปีก ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง หรือไก่บ้าน เป็ดได้แก่เป็ดเทศ ลูกผสมบาบารี

ประมง จะมีการเลี้ยงแบบอาชีพบ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติตามไร่นาปลาที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลากินพืชเช่น ปลานิล ไน ตะเพียน นวลจันทร์ ปลาจีน ปลากินเนื้อก็มีบ้าง เช่น ปลาดุกรัสเซีย ดุกบิ๊กอุย ปลาสวาย

พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ แมลงพื้นเมือง

ในอดีตที่ผ่านมา การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคในครอบครัว ถ้าเหลือจากการบริโภคแล้วถึงจะนามาแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จาเป็น การเลี้ยงสัตว์ส่วนมากถ้าเป็นสัตว์ใหญ่จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในการทาการเกษตรหรือขนส่งผลผลิตต่าง ๆ พันธุ์ที่เลี้ยงก็เป็น โค กระบือพื้นเมือง สัตว์ปีกก็มีการเลี้ยงมากโดยเฉพาะตามหัวไร่ปลายนาหรือตามใต้ถุนบ้าน ได้แก่ ไก่พื้นเมือง เป็ดเทศ และสุกรพื้นบ้าน(หมูกี้ , หมูลาด) ต่อมามีการพัฒนาเพื่อผลิตขายหรือจาหน่ายจนถึงปัจจุบันนี้

การใช้ที่ดิน

ตำบลหายโศกมีพื้นที่ถือครองทั้งสิ้น 63,818 ไร่ใช้ประโยชน์ในการทานา 22,750 ไร่ใช้ทาไร่อ้อย/มันสาปะหลัง 11,180 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ผลทั้งพื้นเมืองและเศรษฐกิจจานวน 790 ไร่ ไม้ยืนต้นไม้เศรษฐกิจ 860 ไร่ พืชผัก 224 ไร่ พื้นที่ป่าทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และแหล่งน้า 15,997 ไร่ ที่อยู่อาศัย 8,224 ไร่ และพื้นที่อื่น ๆ 1,145 ไร่

ระบบการผลิต

1. การผลิตพืช

การทานา ประมาณร้อยละ 64.14 ของพื้นที่ทาการเกษตร สภาพการผลิตในอดีตที่ผ่านมาคุณภาพผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาต่า แต่ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นจากพันธุ์พื้นเมืองซึ่งให้ผลผลิต/ไร่น้อย ก็เปลี่ยนเป็นพันธุ์ส่งเสริมตามที่ตลาดต้องการ เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวมี กข.6 สันป่าตอง กข.10 ฯลฯ พันธุ์ข้าวเจ้ามี ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กข. 15 สุพรรณบุรี 60

การทาไร่ ประมาณร้อยละ 30.77 ของพื้นที่ทาการเกษตร ซึ่งพื้นที่ทาไร่ส่วนใหญ่ทาไร่อ้อย พันธุ์ที่นิยมปลูกเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้เปอร์เซ็นความหวานสูง ได้แก่พันธุ์ อู่ทอง 1 เอฟ 140, เอฟ 156, ฟิลิปินส์ , เค 88-92 การทาไร่อีกบางส่วนทาไร่มันสาปะหลัง พันธุ์ที่ปลูกได้แก่ ระยอง 1,2 ระยอง 60, 90, และเกษตรศาสตร์ 50

การปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น ประมาณร้อยละ 4.51 ของพื้นที่ทาการเกษตรไม้ผลที่ปลูกส่วนมากคือ มะม่วง มะขามหวาน มะพร้าว ขนุน กระท้อน กล้วย แก้วมังกร มีทั้งที่ปลูกเป็นสวนหลังบ้านและที่ปลูกเพื่อจาหน่าย ส่วนไม้ยืนต้นที่นิยมปลูกมีพวกยูคาลิปตัส ไผ่ กระถินเทพา ยางพารา การปลูกยางพารา เป็นพืชตัวใหม่เกษตรกรยังไม่แน่ใจในผลิตผลที่จะได้รับอีกทั้งระยะเวลานานกว่าจะเห็นผลที่ปลูกแล้วส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนาร่องยางพารา ปัจจุบันนี้ได้รับผลผลิตแล้ว พันธุ์ที่ปลูก คือ RRIM 600

การปลูกพืชผักอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 0.56 ของพื้นที่ทาการเกษตรชนิดพืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าวโพดฝักสด/ส่งโรงงาน มะเขือเทศโรงงาน ถั่วฝักยาว แตงร้าน พืชผักกินใบ ช่วงฤดูการปลูกส่วนใหญ่ปลูกในหน้าหนาว ปลูกตลอดทั้งปีก็มีบ้างเล็กน้อย

2.การผลิตสัตว์ ในอดีตที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้แรงงานในการทานาทาไร่เกือบทุกครัวเรือนต่อมาได้เปลี่ยนจากแรงงานสัตว์มาเป็นเครื่องจักรกลแทน ปริมาณสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานจึงลดลงเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันนี้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และตลาดสัตว์ใหญ่กว้างขึ้น ราคาสัตว์แพงเกษตรกรจึงหันกลับมาเลี้ยงสัตว์จาพวกโค กระบือพื้นเมืองเพิ่มขึ้น เฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 5-6 ตัว

การเลี้ยงสัตว์ปีก ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือนและจาหน่ายบ้างที่นิยมเลี้ยงได้แก่ ไก่พื้นเมือง เป็ดเทศ เป็ดไข่ ส่วนไก่ไข่นั้นเลี้ยงระบบลูกเล้าฟาร์มมีอยู่ 3-4 แห่ง หมู่ 5,10,11 ที่เลี้ยงส่วนตัวเพื่อจาหน่ายไข่เองมีอยู่ที่หมู่ 1, 2, 12

การเลี้ยงสุกร มีการเลี้ยงทั่วไปเกือบทุกหมู่บ้านเฉลี่ยรายละ 5-10 ตัว ส่วนพวกที่เลี้ยงจานวนมากจะมีโรงสีสีข้าวเป็นของตัวเองเพื่อที่จะได้อาศัยรา ปลายข้าวจากโรงสีมาเป็นอาหารสุกรการเลี้ยงแบบระบบฟาร์มใหญ่มีอยู่ที่เดียวคือ หมู่ 13

3.การผลิตด้านประมง ส่วนใหญ่การเลี้ยงปลาจะเป็นแบบปล่อยตามธรรมชาติคือมีบ่อปลาอยู่แล้วในไร่นา ปลาที่เลี้ยงก็เป็นจาพวกปลากินพืช เช่นปลานิล ไน ตะเพียน นวลจันทร์ ปลาจีน และปลากินเนื้อก็มีบ้างไม่มาก เช่น ปลาดุก ปลาสวาย แต่ที่เลี้ยงเพื่อจาหน่ายจะมีการนาเทคโนโลยีการผลิตมาใช้มีการให้อาหารเสริม เพิ่มจากอาหารธรรมชาติที่เลี้ยงผสมกับการเลี้ยงไก่ หรือเลี้ยงสุกร มีการทาน้าเขียว การให้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากยิ่งขึ้น

4. สภาพปัญหาการผลิต

1.การขาดเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี

2.ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง เช่น ปุ๋ยเคมี พันธุ์พืช/สัตว์ สารเคมี อาหารสัตว์ ฯลฯ ทาให้ต้นทุนการผลิตสูง

3.การระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช

4.ขาดความรู้เรื่องการป้องกันและรักษาโรคระบาดสัตว์

5.ขาดพันธุ์สัตว์น้าและไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยง

6.ดินเสื่อมสภาพขาดความอุดมสมบูรณ์

การใช้เทคโนโลยีการผลิต (การใช้ปุ๋ย สารเคมีฯลฯ)

1. การส่งเสริมการผลิตข้าวพันธุ์ดี เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้ในชุมชนในหมู่บ้านในตาบล

2.การเรียนโรงเรียนเกษตรกร เพื่อเรียนรู้การผลิตทุกด้านโรคแมลงศัตรูพืช การจัดการผลิต การดูแลรักษา

3. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี

4.การแปรรูปผลผลิตการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผลให้สูงขึ้น เช่น ข้าวเกรียบผัก-ผลไม้ ขนมรังแตน

5.การผสมเทียมโค-กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นจากพันธุ์พื้นเมือง

6.การทาน้าเขียวในบ่อปลา เพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

ปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้อง

การใช้ปุ๋ยเคมี - ข้าวนาปี ใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ10-25 กก./ไร่ สูตรที่ใช้ 16-16-8,16-8-8,46-0-0

- ไม้ผล-ไม้ยืนต้น 10-20 กก./ไร่ /ปี สูตรที่ใช้ 15-15-15,16-16-16, 6-24-24

- พืชไร่ ประมาณ 50-100 กก./ไร่ สูตรที่ใช้ 15-15-15, 16-16-16, 21-0-0

การใช้สารเคมี ถ้าไม่มีการระบาดรุนแรงของศัตรูพืชขั้นเสียหายก็ไม่ค่อยใช้

การใช้พันธุ์พืช ส่วนมากเป็นพันธุ์ที่แนะนาส่งเสริม และตลาดนิยม

การใช้พันธุ์สัตว์ เป็นพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ลูกผสม ขาดทุนในการจัดหาพันธุ์ดีและไม่มีความรู้

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ไม่มี

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

ขนาดการถือครองที่ดิน

การถือครองที่ดิน ตาบลหายโศกมีเกษตรกรจานวนครัวเรือน 1,406 ครัวเรือน และมีพื้นที่ถือครองทั้งสิ้น 63,818 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทาการเกษตร 39,602 ไร่ แหล่งน้า,ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ป่าสาธารณะ การเกษตรอื่นๆ 9,724 ไร่ ที่อยู่อาศัย 8,224 ไร่ เฉลี่ยพื้นที่ถือครองทางการเกษตร 28.26 ไร่/ครัวเรือนเกษตรกร

สิทธิในที่ดินทากิน

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและมีที่ดินทากินเป็นของตนเอง 1,230 ครัวเรือน คิดเป็น 50.3 % ไม่มีที่ดินทากินและต้องเช่าที่ดินจานวน 171 ครัวเรือน คิดเป็น 7 % ประกอบอาชีพอื่น ๆ จานวน 873 ครัวเรือน คิดเป็น 35.7 % จากจานวน ครัวเรือนทั้งหมด 2,445 ครัวเรือน(ที่มา อบต.หายโศก ปี 2551)

การประกอบอาชีพ แยกได้ดังนี้

1. จานวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพมากกว่า อาชีพประมาณ 1,132 ครัวเรือน ได้แก่ ทานาทาสวน ทานาทาไร่ ทานาเลี้ยงปลา ทานาเลี้ยงสัตว์ ทานารับจ้าง

2. ครัวเรือนที่ทาการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 230 ครัวเรือน ได้แก่ การปลูกพืชผัก ถั่วลิสง มะเขือเทศโรงงาน ข้าวโพดฝักสด ยาสูบพื้นเมือง และทานาปรังเล็กน้อย

3. ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ทั้งที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและเลี้ยงเพื่อจาหน่าย ประมาณ 1,132 ครัวเรือน ได้แก่ เลี้ยงไก่ เป็ด โค กระบือ และสุกร

จำนวนแรงงาน

จากจานวนประชากรทั้งสิ้น 10,679 คน แยกเป็นชาย 5,379 คน แยก เป็นหญิง 5,300 คน ประกอบอาชีพด้านการเกษตรจานวน 1,132 ครัวเรือน มีวัยใช้แรงงานโดยเฉลี่ย 2.4 คน/ครัวเรือน

อัตราค่าจ้างแรงงาน วันละ 200 บาท/คน เป็นอัตราค่าจ้างแรงงานโดยทั่วๆ ไปในฤดูแล้งตอนว่างงาน แต่ถ้าเป็นแรงงานภาคเกษตรค่าจ้างอาจเพิ่ม-ลดประมาณ 20-60 % แล้วแต่ว่าเป็นงานยากง่ายหรือเร่งด่วนขนาดไหน

อัตราการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่ไปต่างประเทศ ต่างจังหวัด และกรุงเทพฯคือไปรับจ้างทางานนอกพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 20-40 ของประชากรทั้งหมด

รายได้- รายจ่ายของครัวเรือน

รายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งหมด 20,990 บาท/ครัวเรือน รายได้เฉลี่ยสูงกว่ารายได้จาก จปฐ. เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมค่อนข้างดี เพราะรายได้จากธุรกิจปั๊มน้ามัน โรงงานบรรจุก๊าซ และธุรกิจการค้าไม้เก่า แต่ในความเป็นจริงยังมีประชากรในตาบลยากจนอยู่มากมีรายได้ต่ากว่าเกณฑ์ที่กาหนด คือ 20,000 บาท/ปี/ครัวเรือน มีจานวน 5 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 4, 6, 8, 9, และหมู่ที่ 10

เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร สภาพการผลิตในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากเนื่องจากมีการใช้แรงงานจากเครื่องจักรกลแทนแรงงานจากสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยใช้รถไถนาเดินตาม รถแทรกเตอร์ รถบรรทุก ฯลฯ

เป้าหมายของการทาฟาร์ม

การทาฟาร์มภายในพื้นที่ก็เพื่อพอกินพอใช้เหลือถึงจาหน่าย ส่วนฟาร์มใหญ่ก็เป็นลูกเล้า ของบริษัททาเพื่อส่งจาหน่ายในนามของบริษัทใหญ่

เทคนิค วิธีการผลิต

การปลูกพืชหรือการทานาทาไร่จะเริ่มลงมือดาเนินการช่วงต้นฤดูฝน พืชที่ปลูกได้แก่ พืชไร่พวกอ้อยโรงงาน มันสาปะหลัง ยาสูบพื้นเมือง ข้าวนาปี พืชผักและพืชฤดูแล้ง มีพืชผักรับประทานใบ มะเขือเทศโรงงาน ข้าวโพดอ่อน ข้าวโพดฝักสด พืชตระกูลถั่ว และแตง

การเตรียมดินแต่ก่อนใช้แรงงานจากคนและสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องจักรกลแทนโดยเฉพาะรถไถนาเดินตาม รถแทร็กเตอร์ ถ้าเกษตรกรไม่มีอุปกรณ์ในการเตรียมดินเป็นของตนเองก็ต้องได้จ้างหรือเช่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น จ้างรถไถนาเหมาเป็นวันๆละ 300 –500 บาทแล้วแต่ความยากง่าย หรือบางครั้งตกลงจ้างกับเป็นไร่ ๆละ 120-750 บาท

การดูแลรักษา มีการใส่ปุ๋ย เคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยเคมีมากกว่าเนื่องจากขั้นตอนไม่ยุ่งยากเห็นผลเร็ว การใช้สารเคมีเพื่อกาจัดวัชพืชเป็นส่วนมาก การป้องกันกาจัดโรคแมลงศัตรูพืชมีบ้างเล็กน้อย

การเก็บเกี่ยว การเก็บผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้แรงงานคนโดยการจ้าง แต่ก็มีบางส่วนที่ยังคงเป็นแบบดั้งเดิมคือ การลงแขกหรือการวานญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือกัน การขนส่งปัจจัยการผลิตและขนส่งผลผลิตเพื่อไว้บริโภคหรือจาหน่าย จะใช้เครื่องจักรกลหรือรถยนต์ทั้งหมดเนื่องจากเลิกใช้แรงงานสัตว์แล้วเพราะสะดวกรวดเร็วกว่า

สัตว์ใช้งาน เครื่องจักรการเกษตรและปัจจัยการผลิต

การประกอบอาชีพด้านการเกษตร ในอดีตที่ผ่านมาจะใช้แรงงานจากสัตว์ เช่น โค กระบือเป็นหลักแต่ปัจจุบันเกษตรกรหันมาใช้เครื่องจักรกลในการเกษตรแทนแรงงานจากสัตว์ เพราะสะดวกสบายและรวดเร็วกว่า ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ รถไถนาเดินตาม นอกจากไถนาแล้วก็ใช้เป็นเครื่องสูบน้าได้และยังดัดแปลงเป็นรถอีแต๋นใช้ขนส่งผลผลิตต่างๆได้อีกด้วยสารพัดประโยชน์ ประมาณ 70 % ของเกษตรกรทั้งตำบลมีรถไถนาเดินตามใช้ ส่วนที่ไม่มีก็อาศัยการจ้างวานช่วย ได้แก่ รถแทร็กเตอร์ รถคีบอ้อย รถตัดหญ้า รถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อ รถนวดข้าว รถเกี่ยวข้าว

นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญในการประกอบอาชีพการเกษตรก็คือ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ยารักษาโรคสัตว์ วัคซิน ปุ๋ยเคมีปุ๋ยอินทรีย์ สารป้องกันกาจัดศัตรูพืชทั้งเคมีและอินทรีย์

 

ข้อมูลด้านสังคม

จานวนประชากรและครัวเรือน

มีประชากรทั้งสิ้น 10,679 คน แยกเป็นชาย 5,379 คน หญิง 5,300 คน จานวนครัวเรือนทั้งหมด 2,445 ครัวเรือน แยกเป็นครัวเรือนเกษตรกร จานวน 1,132 ครัวเรือน

พื้นที่/สภาพการถือครอง

พื้นที่ถือครองทั้งสิ้น 63,818 ไร่ พื้นที่ทาการเกษตร 39,602 ไร่ แหล่งน้า,ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ป่าสาธารณะ และอื่น ๆ 15,992 ไร่ ที่อยู่อาศัย 8,224 ไร่ เฉลี่ยพื้นที่ถือครอง 28.3 ไร่/ครัวเรือน

ประวัติความเป็นมาของสมาชิกในชุมชน รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน

อำเภอบ้านผือมีเขตการปกครองทั้งหมด 13 ตำบล จานวน 160 หมู่บ้าน ตำบลหายโศกก็เป็น 1 ใน 13 ตาบล แต่ก่อนนั้นตำบลหายโศกรวมอยู่กับตำบลบ้านผือ ต่อมาจานวนประชากรและครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านและทางสภาตำบลจึงเสนอขอแยกจาก ตำบลบ้านผือเป็นตำบลใหม่ชื่อว่าตำบลหายโศก เมื่อปี พ.. 2512”

พื้นเพเดิมของชาวตำบลหายโศก มีการบอกเล่ามาตั้งแต่บรรพบุรุษว่าอาจจะอพยพมาจากฝั่งลาวข้ามาอยู่ที่อำเภอศรีเชียงใหม่และท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ย้ายมาเรื่อยๆ จนมาปักหลักอยู่ที่บ้านนาคา ต่อมาก็มีการขยายเป็นชุมชนใหญ่ กระจายไปอยู่ตามไร่นาจนเกิดเป็นบ้านหายโศก ดงหวาย ดงขวางและบ้านอื่นๆ อีกมากมาย ภาษาที่ใช้ส่วนมากเป็นภาษาลาวพวน พวนบ้านหมี่ พวนเวียง และภาษาลาวอิสานอีกบางส่วน

ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม อิทธิพลทางความคิด(ค่านิยม)

1.ประเพณีทาบุญปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีจะทาบุญตักบาตรกันในหมู่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเองและครอบครัว

2.ประเพณีการทาบุญข้าวจี่ จะจัดขึ้นช่วงเดือน 3 (กุมภาพันธ์) จะมีการทาข้าวจี่ ข้าวโป่งมาทาบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญู

3.การทาบุญมหาชาติ (บุญพระเวช หรือพระเวสสันดรชาดก) เป็นการทาบุญเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้าพระพุทธศาสนา จะมีการเทศมหาชาติตลอดทั้งวันเพื่อเทศนาสั่งสอนประชาชน จัดในเดือน 4

4.ประเพณีสงกรานต์ หรือบุญเดือน 5 ซึ่งตรงกับวันที่ 13 – 15 เมษายน ของทุกปี หรือเรียกอีกอย่างว่า ปีใหม่ไทย จะมีการทาบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา มีการละเล่นต่างๆ ตลอดทั้งมีการรดน้าดาหัวขอพรจากผู้สูงอายุ

5.ประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้นบางหมู่บ้านเท่านั้นเพื่อทาพิธีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะจัดขึ้นระหว่างเดือน 6 -7 เท่านั้นก่อนฤดูฝน

6.ประเพณีเข้าพรรษา จะทาบุญตักบาตรถวายผ้าอาบน้าฝนและเทียนพรรษา แก่พระภิกษุและสามเณรที่จาพรรษาอยู่ในวัด จัดงานในเดือน 8

7.ประเพณีทาบุญข้าวประดับดิน ตรงกับเดือน 9 ของทุกปี โดยจะเตรียมอาหารไปถวายพระเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ญาตผู้ล่วงลับไปแล้ว และผีไม่มีญาติ เปรต

8.ประเพณีทาบุญสารทไทย (บุญข้าวสาก) จัดทาบุญในเดือน 10 ขอทุกปี โดยนาอาหารและข้าวกระยาสารท ไปทาบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนบุญให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

9.ประเพณีการทอดเทียน จะจัดขึ้นในระหว่างการเข้าพรรษา โดยการนาต้นเทียนและจตุปัจจัยไปถวายพระ และมีการสวดมนต์ท่องกลอนเป็นทานองสารภัญญะ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

10.ประเพณีออกพรรษา ตรงกับเดือน 11 ของทุกปี มีการทาบุญตักบาตร ปล่อยโคมไฟ จุดตะไล ดอกไม้ไฟ ประทัด

11.ประเพณีทาบุญทอดกฐิน จัดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ระหว่าง 1 ค่า เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่า เดือน 12 ถือว่าเป็นประเพณีที่ทาบุญได้อานิสงค์มาก

12.ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 เพื่อเป็นการขอขมาและบวงสรวงเจ้าแม่คงคา และเป็นการปล่อยความทุกข์ไปตามลาน้า

ศาสนา สิ่งยึดเหนี่ยว และข้อห้ามต่าง ๆ

ค่านิยมและความเชื่อของประชากรในตำบลหายโศกส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 90 % ศาสนาอื่น ๆ อีกประมาณ 10 % ในแต่ละหมู่บ้านจะมีวัดหรือสานักสงฆ์อยู่ 1-2 แห่ง วัดมี 21 แห่ง โบสถ์มี 5 แห่ง

ข้อห้าม คือไม่ให้ใช้แรงงานสัตว์ในวันพระ แต่ก่อนการทาการเกษตรใช้แรงงานสัตว์ พอถึงวันพระให้หยุดทางานถือว่าให้สัตว์ได้พักเป็นการทาบุญอย่างหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้ใช้รถไถนาแทนแรงงานสัตว์แล้ว

การศึกษา/ศาสนา

สถานศึกษามีโรงเรียนอยู่ 8 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์อีก 5 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 70 % จบการศึกษาภาคบังคับ ป.4 ประชากรบางส่วน 10 % จบการศึกษาภาคบังคับ ป. 6

อีกประมาณ 10 %จบการศึกษาระดับมัธยมต้น และอีกประมาณ 5 % จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ส่วนจบระดับอนุปริญญาถึงปริญญาตรีมีประมาณ 5 %

โรงเรียนในพื้นที่ตาบลหายโศกมี 8 แห่ง ดังนี้

1. โรงเรียนบ้านหายโศก

2. โรงเรียนบ้านนาคา

3. โรงเรียนบ้านโคกสีแก้ว

4. โรงเรียนบ้านหนองนกเขียน

5. โรงเรียนบ้านโนนอุดม

6. โรงเรียนบ้านธาตุประชานุกูล เป็นโรงเรียนขยายโอกาสถึงระดับ ม. 3

7. โรงเรียนดงหวายดงขวาง

8.โรงเรียนหนองกุงวังแสง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ มีอยู่ 5 แห่ง ดังนี้

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ บ้านหายโศก หมู่ 1

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ วัดโพธิ์ทองวนาราม หมู่ 7

3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ วัดโพธิ์ทอง หมู่ 4

4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ วัดชุมพวงสวรรค์ หมู่ 8

5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ วัดป่าลาดวน หมู่ 12

ผู้นาตามธรรมชาติ กลุ่มตามธรรมชาติ ตำบลหายโศกประชาชนจะให้ความเคารพนับถือผู้ที่อาวุโสกว่า และเคารพนับถือผู้นาทางศาสนาคือ พระ ส่วนผู้นาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นทางการได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการในท้องถิ่นนั้น

กลุ่มตามธรรมชาติ เป็นการรวมกลุ่มกันโดย มีการดาเนินกิจกรรมร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันเอง เช่น กลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงาน จะทาการปลูกช่วงฤดูแล้งหลังการทานา กลุ่มผู้ค้าไม้เก่า กลุ่มฌาปณกิจในหมู่บ้าน กลุ่มกองทุนปุ๋ย กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ลฯ ปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือสนับสนุนการดาเนินกิจกรรมในรูปกลุ่มเพื่อให้เข้มแข็งเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ

1. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในตาบลมีทั้งหมด 3 กลุ่ม มีสมาชิกรวมทั้งหมด 152 คน กิจกรรมที่ดาเนินมีการแปรรูปอาหารจากแป้งและข้าว การทอเสื่อกก การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ มีเงินทุนรวม 84,000 บาท

2.กลุ่มกองทุนข้าวชุมชน มีสมาชิกรวม 64 คน มีเงินทุน 140,000 บาท

3.กลุ่มกองทุนปุ๋ย เป็นสมาชิกทั้งหมด 17 หมู่บ้านมีเงินทุน บ้านละ 100,000 บาท

4.กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง และอนุรักษ์ไก่ชน มีสมาชิก 52 ราย

5.กลุ่มเยาวชนเกษตร มี 3 กลุ่ม ไม่มีเงินทุน

6.กลุ่มเกษตรกรทานาหายโศก สมาชิก 50 รายไม่มีเงินทุนไม่ดาเนินธุรกิจ

7.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีทั้งหมด 26 กลุ่ม

8.กลุ่มกองทุนเงินล้าน หมู่บ้านละ 1,000,000 บาท

องค์กรในชุมชน

องค์กรในชุมชนที่สาคัญได้แก่ องค์การบริหารส่วนตาบลหายโศก กลุ่มอาสาสมัครป้องกันตนเอง คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตาบล

กองทุน

1.กองทุนเงินล้านมีทุกหมู่บ้านๆละ 1,000,000 บาท

2.กองทุนศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน 1 กลุ่ม จานวน 140,000 บาท

3.กองทุนเพื่อส่งเสริมอาชีพบ้านยากจน กขคจ. 5 หมู่บ้านๆละ 250,000 บาท

4.กองทุนองค์การนานาชาติเพื่อร่วมพัฒนา 9 หมู่บ้าน

5.กองทุนกลุ่มแม่บ้าน

ภูมิปัญญา

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้แก่ การจักสานไม้ไผ่, เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่, เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า การแปรรูปผักดอง การทาเหล้าพื้นบ้านหรือสาโท

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น